Showing posts with label บทบาทเชิงกลยุทธ์. Show all posts
Showing posts with label บทบาทเชิงกลยุทธ์. Show all posts

Saturday, December 31, 2011

บทบาทเชิงกลยุทธ์ของการพยากรณ์ (The Strategic Role of Forecasting)

การจัดการซัพพลายเชน ในยุคปัจจุบัน การจัดการซัพพลายเชน ครอบคลุมถึงโรงงานสาธารณูปโภคพื้นฐาน หน้าที่ฝ่ายต่างๆในบริษัท กิจกรรมที่ผลิตสินค้าและบริการจากผู้ขายปัจจัยการผลิตรวมถึงผู้ขายปัจจัยการผลิตในทุกขั้นถัดไป ลูกค้าของลูกค้าในทุกระดับ รวมถึงกิจกรรมการจัดซื้อสินค้าคงคลัง การผลิต ตารางกำหนดการผลิต การกำหนดทำเลที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า การขนส่ง และการกระจายสินค้า ส่งผลกระทบในระยะสั้น คือ การจัดการอุปสงค์ของสินค้า ส่วนระยะยาวจะเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ และกระบวนการผลิต ความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี และการเปลี่ยนตลาด ซึ่งต้องมีการพยากรณ์ในส่วนที่ได้รับผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยระยะสั้นจะมองที่การพยากรณ์ที่แม่นยำ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้แนวทางในการเก็บสินค้าคงคลังที่กระจายอยู่ในจุดต่างๆ
ในระยะยาวต้องมองการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งทางเทคโนโลยี ตลาดในต่างประเทศ คู่แข่ง และปัจจัยภายนอกทั้งหมด ไม่ว่าเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ลูกค้า การเปลี่ยนแปลงตลาดใหม่
แนวโน้มในการออกแบบซัพพลายเชน คือ การเติมสินค้าอย่างต่อเนื่อง (Continuous Replenishment) ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ขายสินค้า โดยใช้ยอดขายที่เชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ต เพื่อลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มความเร็วในการส่งสินค้าให้ลูกค้า วิธีการนี้การตอบสนองลูกค้าอย่างรวดเร็ว JIT VMI และการไม่เก็บสต็อก ฉะนั้นการพยากรณ์ที่ต้องมีประวัติ และตัวเลข ยิ่งมีตัวเลขในอดีตที่ผ่านมามาก ยิ่งทำให้การพยากรณ์แม่นยำมากขึ้น

การจัดการคุณภาพแบบสมบูรณ์
การพยากรณ์เกี่ยวกับการจัดการคุณภาพเพราะเป็นแนวทางในการจัดหาคุณภาพและบริการที่ดีแก่ลูกค้า โดยให้บริการแก่ลูกค้าโดยสินค้าที่ถูกต้องทั้งคุณภาพและปริมาณส่งถึงในเวลาที่กำหนด สถานที่ที่ระบุ และราคาเป็นธรรม ในอุตสาหกรรมยานยนต์ หรือแม้กระทั่ง แมคโดนัลด์ ก็ใช้ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ในการที่จะทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมาย และประสบความสำเร็จนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพยากรณ์อุปสงค์ในตลาดและผลิตภัณฑ์ในอนาคตที่แม่นยำ ต้องมองการพยากรณ์ทั้งระบบ ในการบริหารการผลิตมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ตัวเลขและข้อมูลเชิงปริมาณในการวางแผนและตัดสินใจดำเนินการตามหน้าที่ต่างๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ข้อมูลเชิงปริมาณอันหนึ่งซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งคือ อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ เพราะอุปสงค์ของลูกค้าเป็นตัวกำหนดเชิงปริมาณของกิจกรรม การบริหารการผลิตหลายประการ ทำให้สามารถจัดสรรทรัพยากรอันมีอยู่อย่างจำกัดขององค์การให้เหมาะสมกับปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการ การล่วงรู้อุปสงค์ในอนาคตจะมีผลในการวางแผนกิจกรรมการบริหารการผลิตในระยะสั้นและระยะยาวได้ถูกต้อง ใกล้เคียงกับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งการพยากรณ์ขึ้นกับกรอบเวลา พฤติกรรมอุปสงค์ และสาเหตุที่เกิดขึ้นของแต่ละพฤติกรรม
 
Copyright Inventory Management Metrics All Rights Reserved